อาการไอ เป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ และเป็นกลไกป้องกันที่สำคัญของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ นอกจากนี้อาการไอยังเป็นทางที่สำคัญในการแพร่กระจายของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การไอมีหลายสาเหตุ สามารถป้องกันได้ แต่หากเป็นระยะเวลานานควรไปพบแพทย์

อาการไอ

อาการไอ เป็นกลไกอย่างหนึ่งของการป้องกันระบบหายใจไม่ให้ได้รับอันตราย ปกติเราหายใจเอาอากาศเข้าออกผ่านปอดวันละมากๆ (ประมาณ 8,000 – 12,000 ลิตรต่อวันขึ้นกับปริมาณการทำงานและการออกกำลัง) ขณะที่ในอากาศมีของเสียที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจปะปนอยู่ ยิ่งอยู่ในเมืองยิ่งมีมากจากการสูบบุหรี่ มลภาวะเป็นพิษอาจเป็นในรูปฝุ่นละออง ก๊าซเคมี และเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อไวรัสต่างๆ

ร่างกายจึงมีวิธีกำจัดสิ่งเหล่านั้นออกไปเพื่อลดอันตรายของทางเดินหายใจลง ผงฝุ่นละอองขนาดโตเมื่อหายใจเข้าไป (โตเกินกว่า 10 ไมครอน) ส่วนใหญ่จะติดอยู่ในส่วนโพรงจมูกและหลอดลมส่วนบน มีฝุ่นที่มีขนาดเล็กเท่านั้นที่จะผ่านลงไปในหลอดลมส่วนล่างได้ ดังนั้นผงฝุ่นละอองขนาดเล็กจะมีอันตรายกว่าผงฝุ่นละอองขนาดใหญ่

ลักษณะและสาเหตุของอาการ

  • ไอมีเสมหะ

พบในภาวะติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ  เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง อันเป็นผลจากการที่ร่างกายมีการขับสารเมือก หรือสารคัดหลั่งออกมาในระบบหายใจ จนทำให้เกิดอาการไอร่วมกับมีเสมหะ

  • ไอแห้ง

เกิดจากการระคายคอหรือระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จนกระตุ้นให้เกิดการไอ โดยไม่มีเสมหะปน สาเหตุที่พบได้ เช่น ภาวะกรดไหลย้อน โรคหลอดลมอักเสบ ยาลดความดันโลหิตกลุ่มของ ACEi inhibitor และเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนไข้ COVID-19

  • ไอเสียงก้อง

พบในเด็ก เกิดจากการบวมของระบบทางเดินหายใจส่วนบน บริเวณกล่องเสียง และหลอดลม หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่าโรคครูฟ คนไข้อาจมีอาการหายใจลำบาก เสียงแห้ง หายใจมีเสียง ไข้ ร่วมกับการไอเสียงก้อง

อาการไอที่พบเวลากลางคืน เป็นผลจากการระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจที่ถูกกระตุ้นในช่วงกลางคืน อาจสัมพันธ์กับท่าทาง เช่น เสมหะไหลลงคอขณะนอน ที่พบได้ในโรคไซนัสอักเสบ โรคภูมิแพ้ อีกทั้งอากาศเย็น หรือ สารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของหลอดลม ส่งผลให้ไอมากขึ้น โดยเฉพาะคนไข้โรคหืด

สาเหตุของการไอ

  • สิ่งแปลกปลอมที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน มลภาวะ ไรฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ วัณโรค เป็นต้น
  • โรคเรื้อรังบางชนิด เช่น กรดไหลย้อน ทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการไอได้
  • ยาบางประเภท เช่น ยาลดความดันกลุ่ม ACE inhibitors อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงคือทำให้ผู้ป่วยไอ

การบรรเทาอาการไอ

  • จิบน้ำอุ่นบ่อยๆ เนื่องจากน้ำอุ่นสามารถบรรเทาอาการระคายเคืองคอ บรรเทาอาการคอแห้ง ทำให้ชุ่มคอ และสามารถช่วยละลายเสมหะที่ข้นเหนียว
  • การใช้ยาอม และยาจิบบรรเทาอาการ ที่มีส่วนผสมที่ช่วยทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการคอแห้ง ระคายเคืองซึ่งเป็นสาเหตุของการไอ และยังสามารถช่วยขับเสมหะ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากควันบุหรี่ และสารอื่นๆ กระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองคอ ทำให้ไอได้ นอกจากนี้ ควันบุหรี่ยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และถุงลมโป่งพอง ที่เป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรังอีกด้วย
  • การใช้เครื่องพ่นไอน้ำ ช่วยรักษาความชื้นในห้องไม่ให้แห้งเกินไป สามารถป้องกันการไอเนื่องจากคอและทางเดินหายใจแห้งได้
  • หลีกเลี่ยงฝุ่นควัน สเปรย์ต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองคอและทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดอาการไอได้ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรใช้หน้ากากที่สามารถกรองฝุ่น จะสามารถป้องกันอาการได้
  • ใช้ยาสำหรับบรรเทาอาการ ซึ่งมีทั้งยาที่ช่วยกดอาการไอ เพื่อบรรเทาการไอแห้ง และยาละลายเสมหะ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ที่ร้านยาเอ็กซ์ต้าพลัส และร้านยาทั่วไป

ทั้งนี้ วิธีบรรเทาอาการไอด้วยตนเอง ตามวิธีดังกล่าว ถือเป็นการบรรเทาอาการเบื้องต้น แต่หากมีไอติดต่อกันมากกว่า  2 สัปดาห์ มีไอเป็นเลือด หรือไม่สามารถบรรเทาอาการไอด้วยตนเองได้ รวมถึงมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจมีเสียง มีไข้สูง หายใจติดขัด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่เหมาะสม

อาการไอ

ระยะอาการไอที่ควรมาพบแพทย์

สามารถแบ่งตามระยะเวลาได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1. อาการไอเฉียบพลัน คือการไอที่น้อยกว่า 3 สัปดาห์

2. อาการไอกึ่งเฉียบพลัน คืออการไอตั้งแต่ 3 – 8 สัปดาห์

3. อาการไอเรื้อรัง คือการไอต่อเนื่องที่มากกว่า 8 สัปดาห์ขึ้นไป

แนะนำให้มาพบแพทย์  กรณีที่อาการไอเป็นลักษณะไอเรื้อรัง หรือมีอาการผิดปกติอื่นร่วม เช่น ไอเสมหะปนเลือด เสียงแหบ ไข้ น้ำหนักลด หอบเหนื่อย ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อยๆ กลืนเจ็บ  กลืนลำบาก สำลัก ทั้งนี้เพื่อการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสม

แนวทางการรักษา

เนื่องจากอาการไอ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นการรักษา จำเป็นที่จะต้องทำการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการ และให้การรักษาตามสาเหตุนั้นๆการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเอง ก็เป็นส่วนสำคัญในการรักษาอาการได้มาก โดยการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ ที่ทำให้เกิดการไอ เช่นสารก่อการระคายเคือง ฝุ่น สารเคมี ควันบุหรี่ หลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมโดยตรง เนื่องจากอากาศเย็นจะกระตุ้นหลอดลมให้เกิดการหดตัว ควรทำให้ร่างกายอบอุ่น พักผ่อนให้เพียงพอ กรณีที่สูบบุหรี่ ควรงดการสูบบุหรี่

โรคที่เป็นสาเหตุการไอ

โรคที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการไอบ่อยอื่นๆ ได้แก่ การอักเสบเรื้อรังในปอด เช่น วัณโรค หลอดลมอักเสบเป็นหนองเรื้อรัง (Bronchiectasis) ฝีในปอด และมะเร็งในปอด เป็นต้น แต่ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักเอกซเรย์ปอดผิดปกติ

สำหรับโรคที่ทำให้เกิดการไอเรื้อรังและมีเอกซเรย์ปอดปกติ ที่พบบ่อยได้แก่

  • โรคหอบหืด (Bronchial Asthma) 

ผู้ป่วยโรคหอบหืดโดยทั่วไปจะมีอาการไอ เหนื่อยง่าย และหายใจมีเสียงวี๊ด แต่ก็มีผู้ป่วยอีกจำนวนมากมีโรคหอบหืดชนิดที่ไม่รุนแรง บางรายไม่เคยมีอาการหืดจับหรือเหนื่อยง่ายเลย มีเพียงไอเรื้อรังเท่านั้น (พบว่าประมาณ 25% ของผู้ป่วยโรคหอบหืดไม่เคยมีอาการหืดจับ) แต่ถ้าตรวจสมรรถภาพปอดจะพบว่า หลอดลมมีความไวต่อสิ่งเร้า (Bronchial Hyperresponsiveness หรือ BHR) นอกจากนั้นผู้ป่วยพวกนี้ที่มีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง การตรวจเสมหะจะพบเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophils แทนที่จะเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Neutrophils อย่างที่เห็นในหลอดลมอักเสบทั่วไป Eosinophilic Bronchitis นี้ถือเป็น Cough – Variant Asthma คือ เป็นโรคหอบหืดที่มีหลอดลมตีบแบบไม่รุนแรงจึงไม่มีอาการหอบหืด

  • ผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคแพ้อากาศและมีจมูกอักเสบเรื้อรัง (Allergic Rhinitis) 

ผู้ป่วยพวกนี้จะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และมีน้ำมูกไหลลงในคอเวลานอน (Postnasal Drip) ทำให้มีการไอเรื้อรัง ผู้ป่วยอาจมีไซนัสอักเสบ (Paranasal Sinusitis) ร่วมด้วย โดยที่สาเหตุของโรคเป็นภูมิแพ้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงพบโรคนี้ร่วมกับโรคหอบหืดในผู้ป่วยคนเดียวกันได้บ่อย

  • ผู้ป่วยที่มีกรดในกระเพาะและกรดไหลย้อนกลับเข้ามาในหลอดอาหาร (Gastro-Esophageal Reflux Disease หรือ GERD) 

ผู้ป่วยพวกนี้อาจมีไอเรื้อรังได้ รูปที่ 16 เป็นรูปวาดของระบบทางเดินอาหารส่วนบน อาหารผ่านปาก ลำคอ หลอดอาหารส่วนต้น (Esophagus) แล้วลงไปในกระเพาะอาหาร (Stomach) ตรงรอยต่อระหว่างหลอดอาหารส่วนต้นกับกระเพาะอาหารจะมีหูรูดปิดที่เรียกว่า Gastroesophageal Sphincter หรือ Lower Esophageal Sphincter ซึ่งจะกันไม่ให้อาหารและกรดในกระเพาะไหลย้อนกลับขึ้นไปได้

  • ผู้ป่วยที่ทานยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคความดันสูงและโรคหัวใจ

เช่น ยาพวก ACE Inhibitor อาจทำให้ผู้ป่วยที่ใช้ยานี้มีการไอเรื้อรังได้ พบได้ราว 2 – 14% ของผู้ใช้ อาการเกิดในราว 3 – 4 สัปดาห์หลังใช้ยา การไอมักเป็นแบบไอไม่มีเสมหะ เป็นมากในตอนกลางคืนและเวลานอนราบ อาการจะหายไปเมื่อหยุดยา ยาพวก Beta-Adrenergic Blocking Agent อาจทำให้เกิดการไอในผู้ป่วยที่มีหลอดลมอักเสบเรื้อรังและโรคหอบหืดโดยช่วยทำให้หลอดลมตีบลง

  • ผู้ป่วยที่ใช้เสียงมากๆ

เช่น ตะโกนมากและพักน้อย เช่น พวกพ่อค้าแม่ค้า หากหยุดพักไม่ใช้เสียง 2 – 3 วัน อาการจะดีขึ้น

  • ผู้ที่ไอหรือกระแอมโดยที่ไม่มีโรค

เรียก Psychogenic หรือ Habit Cough การวินิจฉัยมักไม่พบว่ามีสาเหตุของการไออื่น สันนิษฐานว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากจิตใจ มีคนเป็นแบบนี้จำนวนมาก

 

อาการไอเกิดได้จากหลายสาเหตุ ถ้ารู้สึกถึงความผิดปกติของร่างกาย หรือรู้สึกกังวลใจเรื่องอาการไอ แนะนำควรเข้าพบแพทย์ เพื่อทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด นำไปสู่การวินิจฉัย และการรักษาอย่างเหมาะสม

 

เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  greenstoneofheathcote.com

สนับสนุนโดย  ufabet369